สปสช.หนุนงานป้องกัน “ธาลัสซีเมีย ดาวน์” ปี 60 ช่วยหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด เข้าถึงบริการเพิ่ม

สปสช.หนุนงานป้องกัน “ธาลัสซีเมีย ดาวน์” ปี 60 ช่วยหญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิด เข้าถึงบริการเพิ่ม
สปสช.หนุน “งานป้องกันและควบคุมความผิดปกติแต่กำเนิดต่อเนื่อง” ทั้งโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มอาการดาวน์ ภาวะพร่องไทรอยด์ ช่วยหญิงตั้งครรภ์/เด็กแรกเกิดทั่วประเทศ รับการคัดกรองและเข้าถึงบริการเพิ่ม เผยปี 2560 เดินหน้าต่อพร้อมหนุนพัฒนาเครือข่ายบริการ เพื่อให้ครอบคลุมการดูแลหญิงตั้งครรภ์/เด็กแรกเกิดเพิ่มขึ้น

เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2559 นพ.ชูชัย ศรชำนิ
รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า
ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากพันธุกรรมเป็นภาวะที่ป้องกันและควบคุมได้
สปสช.จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการเพื่อพัฒนาสิทธิประโยชน์การป้องกัน
และควบคุมความผิดปกติแต่กำเนิดอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์
และภาวะพร่องไทยรอยด์ฮอร์โมนในเด็กแรกเกิด ตั้งแต่การตั้งครรภ์ และหลังคลอด
รวมไปถึงการจัดบริการยุติการตั้งครรภ์กรณีผลตรวจพบความผิดปกติในครรภ์
และดูแลลงทะเบียนรักษาพยาบาลในกรณีพบความผิดปกติในเด็กแรกเกิด
นพ.ชูชัย กล่าวว่า สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคโลหิตจากธาลัสซีเมีย
สปสช.ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์การป้องกันและความคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย
ตั้งแต่ปี 2557-2559 เพื่อการลดผู้ป่วยรายใหม่
ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงลดลง
โดยมุ่งให้คู่เสี่ยงเข้าถึงบริการและได้รับการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด
และให้คู่เสี่ยงที่ผลการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดผิดปกติเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์
นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โดยสนับสนุนให้วินิจฉัยก่อนคลอด ผลการดำเนินงานได้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานการป้องกัน
และควบคุมโรค การพัฒนาระบบจัดการระดับเขต การสนับสนุนกลไกระดับจังหวัด
รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากร การพัฒนาระบบและเครือข่าย
และดูแลต่อเนื่องให้เลือด ยาขับเหล็กให้เพียงพอตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
ทั้งนี้การดำเนินการข้างต้นนี้ยังส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์และคู่สามี เข้าถึงการคัดกรองเพิ่ม
โดยปีงบประมาณ 2557 มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรอง 759,878 ราย
จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ 761,132 ราย ในจำนวนนี้พบการคัดกรองผิดปกติ 98,524 ราย
และได้ส่งตวจยืนยันพาหะโลหิตจางธาลัสซีเมีย 42,238 ราย หรือร้อย 42.87
ขณะที่มีคู่สามีที่ได้รับการตรวจยืนยัน 38,320  ราย หรือร้อยละ 90.93และในปีงบประมาณ 2558 มีหญิงตั้งครรภ์ได้รับการคัดกรอง 713,771 ราย
จากจำนวนหญิงตั้งครรภ์ 772,197ราย พบการคัดกรองผิดปกติ 98,524 ราย
และได้รับการส่งตรวจยืนยันพาหะโลหิตจางธาลัสซีเมีย 149,349 ราย
และได้ส่งตรวจยืนยันพาหะโลหิตจางธาลัสซีเมีย 46,230 ราย
หรือร้อยละ 30.95 ขณะที่มีคู่สามีได้รับการตรวจยืนยัน 42,036 หรือร้อยละ 90.93
สำหรับผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ปี 2559 (ข้อมูล 1 ต.ค. 58 – 31 ก.ค. 59)
มีผู้ป่วยได้รับการขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 11,940 ราย
นพ.ชูชัย กล่าวว่า
ส่วนการป้องกันและควบคุมกลุ่มอาการดาวน์ในหญิงตั้งครรภ์ ปี 2558
สปสช.ได้เริ่มโครงการนำร่อง โดยร่วมกับกรมอนามัย คณะแพทย์ศาสตร์ของ
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
และคณะกรรมการกำกับทิศทางจังหวัดนำร่อง
เพื่อเตรียมความพร้อมและประเมินระบบบริหารจัดการและระบบบริการ
ซึ่งนำร่องใน 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ ขอนแก่น สงขลา และยะลา
โดยมีการคัดกรอง 9,038 ราย ในจำนวนนี้พบความผิดปกติ 950 ราย
และมีการตรวจคัดกรองยืนยัน 400 ราย โดยพบกลุ่มอาการดาวน์ 12 ราย
ยุติการตั้งครรภ์ 9 ราย ทั้งนี้ในปี 2560 นี้
เตรียมขยายหน่วยบริการเพื่อให้บริการเพิ่มเติมสำหรับการตรวจคัดกรอง
เพื่อลดอัตราเด็กแรกเกิดที่มีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน สปสช.ได้กำหนด
เป็นสิทธิประโยชน์การตรวจคัดกรองในเด็กแรกเกิดมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน
เนื่องจากจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตรวมถึงการพัฒนาการด้านสมองได้
โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ
จึงต้องเร่งค้นหาเพื่อนำเข้าสู่การรักษาและดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้จากข้อมูลปี 2558 มีเด็กที่รับการตรวจคัดกรองภาวะพร่องไทรอยด์ 728,271 คน
หรือร้อยละ 99 ของจำนวนเด็กแรกเกิดทั้งหมด 730,828 คน
พบความผิดปกติซึ่งมีการตรวจยืนยัน 348 ราย
และได้นำเข้าสู่การรักษา โดยมีเด็กที่ติดตามรับยาต่อเนื่อง 286 ราย
“ในปี 2560 สปสช.ยังคงจับมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อเนื่อง
อาทิ กรมอนามัย กรมการแพทย์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย
เดินหน้าส่งเสริมการป้องกันและควบคุมความผิดปกติแต่กำเนิด
ทั้งในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดเพื่อให้เกิดการเข้าถึงระบบบริการยิ่งขึ้น
ทั้งการสนับสนุนพัฒนาบุคลากรเพื่อให้คำปรึกษาโรคพันธุกรรม
การตรวจห้องปฏิบัติการ และการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการ
ซึ่งนำมาสู่การลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ ทั้งยังส่งผล
ให้ประชากรของประเทศมีคุณภาพเพิ่มขึ้น”
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวที่มา : http://www.nhso.go.th/FrontEnd/NewsInformationDetail.aspx?newsid=MTk5MA==